แมวเปอร์เซีย




การดูแลขนของแมวเปอร์เซียเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากว่าแมวเปอร์เซียเป็นแมวขนยาว

ข้อที่ 1 การหมั่นทำความสะอาดถึงการแปลงและสางขนแมวอย่างสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันการ เกิดขนพันกัน เพราะการที่ขนพันกันเป็นกระจุกนั้นจะเป็นแหล่งเพาะเชื่อโรครวมทั้งพยาธิต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคผิวหนังอักเสบ และเป็นที่อยู่ของเห็บ หมัด อีกด้วย 

ข้อที่ 2 ในเรื่องของอาหารการกินนั้น ควรเลือกอาหารที่ช่วยให้ทางเดินอาหารของแมวไม่อุดตัน เนื่องจากแมวเปอร์เซียจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเลียทำความสะอาดขน อันเป็นสาเหตุในการกินหรือกลืนเส้นขนเข้าไปเป็นจำนวนมาก หากเส้นขนจะไปรวมตัวกันในช่องท้อง จะทำให้แมวเปอร์เซียสำรอกหรือเกิดปัญหาของระบบย่อยอาหารได้

ข้อที่ 3 ส่วนโรคที่พบบ่อยในแมวเปอร์เซียนั้นส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่เกิดขึ้นและถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคหายใจขัดหอบ หรือ ท่อน้ำตาอุดตันเป็นต้น นอกจากนี้แมวเปอร์เซียที่มีสีขาวรวมถึงแมวเปอร์เซียที่มีตาสีฟ้าหรือตาข้างละสี มักมีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด คือ หูหนวก อีกด้วยโรคและวิธีการป้องกัน

     โรคที่พบบ่อยในแมวเปอร์เซียนั้นส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่เกิดขึ้นและถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคหายใจขัด หอบ หรือ ท่อน้ำตาอุดตัน เป็นต้น นอกจากนี้ แมวเปอร์เซียที่มีสีขาวรวมถึงแมวเปอร์เซียที่มีตาสีฟ้าหรือตาข้างละสีมักมีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด คือ หูหนวก อีกด้วย

     อย่างไรก็ตาม โรคท่อน้ำตาอุดตัน และปัญหาคราบน้ำตา เป็นปัญหาที่พบบ่อยและถูกถามถึงมากที่สุด อาการที่พบ คือ มีน้ำตา ไหลในตาข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง ไม่มีอาการหรี่ตา น้ำตาที่ไหลออกมาเป็นน้ำตาใสๆ ร่วมกับมีคราบติดบริเวณร่องจมูก ซึ่งโรคนี้เป็นโรคทางพันธุกรรม เกิดจากการสะสมของแบคทีเรียในท่อน้ำตา เนื่องจากท่อน้ำตาและโพรงจมูกของแมวเปอร์เซียคดไปคดมา

     เมื่อเจ้าเหมียวของคุณประสบปัญหานี้เข้า การแก้ปัญหาเบื้องต้น ผู้เลี้ยงอาจใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเคอยเช็ดคราบน้ำตาเป็นประจำ เพราะหากปล่อยไว้จนแห้ง อาจเช็ดไม่ออก หมดสวยหมดหล่อไม่รู้ด้วยนะคะ

     แต่ถ้าหากมีคราบน้ำตามเยอะและข้นกว่าปกติ อาจต้องใช้ยาป้ายตาร่วมกับการเช็ดคราบน้ำตา หรืออาจพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อล้างท่อน้ำตา และทำการรักษาต่อไป

คำแนะนำการเลี้ยงแมวเปอร์เซียและโปรแกรมการฉีดวัดซีน

     3-4 สัปดาห์ ตรวจอุจจาระถ่ายพยาธิ
     9 สัปดาห์ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด + โรคระบบทางเดินหายใจตอนบน + โรคช่องปากและลิ้นอักเสบ + โรคคลาเดีย ครั้งที่ 1
     10 สัปดาห์ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคลิวคีเมีย ครั้งที่ 1
     12 สัปดาห์ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และถ่ายพยาธิ
     13 สัปดาห์ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด + โรคระบบทางเดินหายใจตอนบน + โรคช่องปากและลิ้นอักเสบ + โรคคลาเดีย ครั้งที่ 2
     14 สัปดาห์ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคลิวคีเมีย ครั้งที่ 2
     ฉีดซ้ำทุก 1 ปี ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด + โรคระบบทางเดินหายใจตอนบน + โรคช่องปากและลิ้นอักเสบ + โรคคลาเดีย + ฉีดวัคซีนป้องกันโรคลิวคีเมีย + ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

0 ความคิดเห็น: